การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
Computer หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ในที่นี้จะกล่าวถึง Computer PC หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี อะไรจะเป็นตัววัดความคุ้มค่าของ พีซี ได้ดีที่สุด เท่าที่เคยใช้ๆ ก็เห็นจะเป็นซอฟต์แวร์ทดสอบ หรือไม่ก็ราคาที่แพง บางคนก็มองแค่ภายนอกด้วยซ้ำว่าเครื่องนี้ดูสวยดี ใช้ซีพียูความเร็วสูงๆ แถมราคาสูงๆ ก็ซื้อเลย แต่ไม่ได้มองเจาะไปถึงการนำไปใช้งานของตัวเองเลยว่าจะนำไปใช้ได้เต็มประสิทธิภาพได้มากแค่ไหน แต่ก็นี่แหละคนไทย


เครื่อง Computer ชุดที่ขายดีที่สุด ณ ปัจจุบัน ก็เห็นจะปฏิเสธ เครื่อง คอมพิวเตอร์ สำเร็จรูปที่จัดโดยรัฐบาล ในโครงการเครื่อง คอมพิวเตอร์ (Computer) เอื้ออาทร ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะสามารถจุดกระแสให้ประชาชนหันมาใช้เครื่อง Computer กันมากขึ้นแล้ว ก็ยังเป็นการกระตุ้นตลาด เครื่อง คอมพิวเตอร์ ในบ้านเราด้วย ทำให้ผู้ผลิต เครื่อง Computer รายต่างๆ ขายดิบขายดีไปตามๆ กัน การเลือกซื้อ เครื่อง คอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้ทั่วๆไปก็จะมีอยู่ 2 แบบ สำหรับแบบแรกนั้นก็คงจะเดินไปจัดสเปคเครื่องตามร้านขาย อุปกรณ์ Computer กันเอง เปรียบเทียบราคาของแต่ละร้านหาร้านที่มีราคาถูกแล้วก็นำไปประกอบด้วยตนเอง หรือไม่ก็ให้ทางร้านที่เราซื้อ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ร้านใดร้านหนึ่งเป็น ผู้ประกอบเครื่องให้ ซึ่งบางทีร้านเขาอาจจะคิดค่าบริการในส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย สำหรับการเลือกซื้อแบบแรกนั้นน่าจะเหมาะสำหรับ ผู้ที่มีความรู้ทางด้าน อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ อยู่บ้าง มาดูแบบที่สองกันบ้างครับ สำหรับการเลือกซื้อแบบที่สองนั้นน่าจะเหมาะกับผู้ใช้มือใหม่ หรือผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ในด้าน อุปกรณ์ Computer เลย ซึ่งผู้ใช้ ประเภทนี้มักจะให้ทางร้านเขาจัดสเปคให้เลย โดยจะกำหนดราคาเครื่องที ต้องการใช้ให้ทางร้านไป หรือผู้ใช้บางคนที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการเลือกซื้อ หรือต้องการ การรับประกันจากผู้ผลิตที่ดีๆ ก็อาจจะหันไปมอง เครื่อง Computer ที่เป็น คอมพิวเตอร์ แบรนด์เนมจากผู้ผลิตทั้งใน หรือต่างประเทศที่นำออกมาวางขายในตลาดบ้านเรากันมากมาย หลากหลายยี่ห้อ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้ใช้จะสามารถซื้อ เครื่อง Computer ได้ง่ายขึ้นเพียงแค่ชี้นิ้ว หรือแค่บอกความต้องการนำไปใช้งานของตนกับผู้ขาย เพื่อให้ผู้ขายจัดสเปคเครื่องให้ แล้วก็เหลือ เพียงแค่ขนเครื่องที่ซื้อมากลับไปบ้านเท่านั้นเอง
ซึ่งบางทีผู้ซื้อก็อาจจะเสียเปรียบเพราะอุปกรณ์ที่ทางร้านเขาจัดให้นั้นอาจจะมีราคาที่ถูกกว่าเงินที่ท่านจ่าย หรืออาจจะติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพให้ เพื่อให้ทางร้านได้ กำไรเยอะๆ จากตรงส่วนนี้ ซึ่งสำหรับ เครื่อง คอมพิวเตอร์ สำเร็จรูปที่จัดโดยค่ายผู้ผลิตแบรนด์เนมต่างๆก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะถ้าเครื่องมีปัญหาผู้ซื้อก็สามารถส่งเคลมได้ทันที แต่สำหรับเครื่องที่ทางร้านจัดสเปคให้นั้น ซึ่งถึงแม้จะมีการรับประกัน Void จากทางร้านมาแล้ว แต่บางทีอุปกรณ์บางชิ้นก็อาจไม่ได้คุณภาพและทางผู้ผลิตก็ไม่รับประกันด้วย เช่น พวก อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ปลอมต่างๆ ดังนั้นก่อนที่จะซื้อ เครื่อง Computer คู่ใจซักเครื่อง เราลองมาดูหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น รวมถึงวิธีการเลือกซื้อ แบบมี ประสิทธิภาพ ทำยังไงไม่ให้โดนหลอกกันครับ



CPU : ควรเลือกใช้ตามประเภทของงาน เช่น งานเอกสารทั่วไป เล่นเกม หรืองานทางด้านมัลติมีเดีย ซึ่งแต่ละงานจะต้องการความเร็ว ความละเอียดในการแสดงผลแตกต่างกัน เช่น
Intel Pentium : รุ่น Celeron ความเร็ว 400-500 MHz
AMD : รุ่น K6-III ความเร็ว 400 MHz ขึ้นไป
Cyrix : รุ่น M II+ 450 MHz หรือ M III

Mainboar เพื่อรองรับ CPU ที่เราได้เลือกมาแล้ว ควรเลือกแบบ ATX เพราะทำงานได้รวดเร็ว มีพื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์ได้เหมาะสม ระบาความร้อนได้ดี มีหลายยี่ห้อ เช่น Abit, Aopen, Intel



RAM : ควรเลือกขนาดความจุอย่างน้อย 64 MB ความเร็ว 100 MHz ขึ้นไป และเลือกยี่ห้อที่เชื่อถือได้ เช่น ฮิตาชิ ฮุนได แอลจี เอ็นอีซHard


Disk : ควรเลือกแบบ UltraDMA/66 มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล 66 MB/s ความจุ 4.3 GB และการรับประกัน 3 ปี



VGA Card : การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่จะใช้ 3D Card เพราะประมวลผลภาพ 3 มิติได้ ขนาดหน่วยความจำมีตั้งแต่ 32 , 64, 128 และ 256



MB ยี่ห้อที่นิยมใช้ เช่น Addonics, SIS6326, Colormax S3 Savage4 Millennium G400, WinFast S320V เป็นต้น


Sound Card : ปัจจุบันมีซาวด์การ์ดแบบออนบอร์ดติดตั้งให้เรียบร้อยแล้ว

Drive : ความเร็วมาตรฐาน 45-50 X หน่วยความจำ 128-256 KB ยี่ห้อที่นิยมใช้ เช่น AOpen, Asus, CTX, LG, Philips,



Pioneer, Sony ป็นต้น Monitor : ควรเลือกจอ CRT เพราะสามารถปรับความละเอียดสูงสุดเพื่อความสบายตาได้มากกว่าจอ LCD และมีขนาดจอให้เลือกมากกว่า

Case : ควรเลือกซื้อ Case ที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์กว้าง ๆ มีพัดลมระบายความร้อนมาก ๆ




Power Supply : ควรมีกำลังจ่ายไฟ 350-450 วัตต์ จะทำให้การพ่วงต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



Modem : ปัจจุบันใช้การเชื่อมต่อแบบอะนาล็อก 56 K หรือแบบความเร็วสูง ADSL มีทั้งติดตั้งภายในและภายนอก




Mouse : ควรเลือกเมาส์ที่มีล้อสำหรับเลื่อนหน้าจอ (Wheel Mouse) เป็นแบบไร้สาย หรือมีความรวดเร็วในการเลือกใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ




Keyboard : ควรเลือกซื้อตามความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก หากต้องการคุณภาพและมีปุ่มฟังก์ชันการทำงานมาก ๆ จะมีราคาสูง

Speaker : ควรเลือกลำโพงให้สอดคล้องกับการ์ดเสียง จะได้เสียงที่มีคุณภาพ ขนาด 120 วัตต์ขึ้นไปเพื่อให้สะดวกในการให้ความบันเทิงทางด้านมัลติมีเดียหรือต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้เต็มรูปแบบ


การเลือกซื้อ Printer :
- ถ้าใช้งานทั่วไปควรเลือกประเภท Inkjet ความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้ว สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพขาวดำ และภาพสีได้ ต้องดูว่าเครื่องพิมพ์ Inkjet รุ่นนี้ใช้ตลับน้ำหมึกรุ่นไหน ตลับสีกับขาวดำราคาเท่าไหร่ เพื่อเปรียบเทียบราคาให้คุ้มค่ากับการใช้งาน



- ถ้าต้องการปริมาณงานพิมพ์มาก ๆ ต้องใช้เครื่องประเภท Lazer มีราคาสูง แต่สะดวกรวดเร็ว


การเลือกซื้อ Scanner :
ควรเลือกหัวสแกนแบบ CCD ความละเอียด 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไป สแกนเนอร์บางรุ่นสามารถสแกนแผ่นฟิล์ม แผ่นสไลด์ได้ แต่มีราคาแพงพอสมควร

การเลือกซื้อ Operating System :
ในปัจจุบันนิยมใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP, 2000


สรุป
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องทราบว่า
1. เรามีความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไรให้เราบ้าง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร เล่นเกม ทำงานด้านกราฟิกส์ ท่องอินเทอร์เน็ต
2. ราคาเครื่อง ควรคำนึงถึงงบประมาณของเราหากใช้สำหรับงานทั่วไป ราคาจะไม่แพงมาก แต่หากต้องใช้ด้านกราฟิกส์ ต้องใช้สเป็คเครื่องที่สูง ราคาก็จะสูงตาม
3. เลือกดูตามศูนย์ไอที ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสำนักงาน สอบถามพนักงานขายแต่ละร้านเพื่อความเข้าใจที่ตรงกับความต้องการของเรา
4. สเป็คเครื่อง ควรอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสเป็คของเครื่องที่มีอยู่ในแผ่นพับ แผ่นปลิว ของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทางด้านยี่ห้อ รุ่น ขนาด ความเร็ว ความจุ หน่วยความจำ ของแถม
5. การบริการหลังการขาย ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากเครื่องมีปัญหา และไม่มีบริการหลังการขาย เราจึงควรเลือกรูปแบบการบริการมีอยู่ 2 แบบคือ
5.1 การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เมื่อเครื่องเสีย ทางร้านจะส่งช่างมารับไปซ่อมจนเสร็จ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มียี่ห้อและราคาค่อนข้างสูง
5.2 การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง หากเครื่องเสีย เราต้องยกเครื่องไปซ่อมเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มีราคาถูก
6. ระยะเวลาในการรับประกันสินค้า จะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชิ้น ปกติจะมีการรับประกัน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ มีราคาแพง อาจรับประกันถึง 3 ปี
7. รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์
7.1 ฮาร์ดดิสค์ (Harddisk) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี ถ้าเสียหายภายใน 1 เดือนแรกทางบริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ แต่ไม่รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือทำหล่นกระแทกอย่างรุนแรง
7.2 เมนบอร์ด (Mainboard) ส่วนใหญ่จะรับประกัน 1 ปี แต่ไม่รวมถึงไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดต่าง ๆ ลงไปอย่างแรง ทำให้หักหรือสายวงจรขาด
7.3 ซีพียู (CPU) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี
7.4 หน่วยความจำ (Ram) หากราคาแพงจัดอยู่ในเกรดที่ดีจะรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แรมเกรดทั่วไปราคาจะถูกกว่ามาก รับประกันเพียง 1 ปี
7.5 ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) หากมีราคาแพงรับประกัน 1 ปี ราคาถูกจะรับประกันเพียง 1 เดือน
7.6 ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกันเพียง 1 ปี หากเสียหายหรือมีปัญหาใด ๆ ให้ส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
7.7 การ์ดจอและการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนมากอุปกรณ์นี้มักไม่เสีย ควรตรวจเช็คว่าเสียบการ์ดแน่นดีหรือเปล่า
8. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ควรใช้ขนาด 250 W. เป็นอย่างต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไฟไม่พอเมื่อต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์หลายชนิด
9. ความคุ้มค่า ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าสมราคา ไม่ควรเปิดทิ้งไว้หากไม่ได้ใช้ จะได้ช่วยประหยัดพลังงานของชาติได้อีกทางหนึ่ง